ปฐมบทโลกภาพยนตร์ และ จุดกำเนิดภาพยนตร์ในสยาม

ปฐมบทโลกภาพยนตร์

ปฐมบทโลกภาพยนตร์ เป็นเรื่องราว ประวัติศาสตร์การกำเนิดภาพยนตร์ ครั้งแรกในโลก และครั้งแรกในสยามประเทศ ที่เกิดมาจาก วิทยาศาสตร์รอบโลก ส่งผลต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในวงการภาพยนตร์

ปฐมบทโลกภาพยนตร์ เมื่อภาพมีชีวิต

หากลองย้อนเวลากลับไปค้นหา จุดกำเนิดของภาพยนตร์ จะพบว่าปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยสร้างชีวิตให้กับสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ ล้วนเกิดขึ้นจากความตื่นตาตื่นใจ และหลงใหลในปรากฏการณ์ต่างๆ ของมนุษย์ ที่ต้องการจะถ่ายทอดสิ่งที่เห็น ออกมาเป็นเรื่องราวที่มีชีวิต นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้น ปฐมบทโลกภาพยนตร์

กล้องรูเข็ม (Pinhole Camera Obscura) ศตวรรษที่ 16

หรือกล้องทาบเงา ได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการร่างภาพสำหรับจิตรกร โดยนำเลนส์นูน มาติดที่ช่องแสงเพื่อช่วยให้ภาพคมชัด และต่อมาได้มีการลดขนาดให้เล็กลงจนเป็นเพียงแค่กล้อง เพื่อให้สะดวกต่อการทำงาน

ตะเกียงมายากล (Magic Lantern) ค.ศ.1671

ปฐมบทโลกภาพยนตร์

สร้างโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Athanasius Kircher เป็นอุปกรณ์สำหรับฉายภาพโดยใช้แสงจากตะเกียง ส่องผ่านภาพวาดบนแผ่นกระจก ผ่านเลนส์ไปยังจอฉายภาพ

ทฤษฎีการเห็นภาพค้างติดตา (Persistence of Vision) ค.ศ.1824

ถูกคิดค้นโดยนักทฤษฎี และแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ จอร์น เอร์ตัน แพรีส (John Ayrton Paris) ที่ได้อธิบายการมองเห็นภาพเคลื่อนไหวของมนุษย์ โดยถูกนำมาสร้างเป็นกล้องภาพเคลื่อนไหว โดยอาศัยหลักการบันทึกภาพนิ่งหลายๆภาพ นำมาจัดเรียงแล้วฉายต่อเนื่องกัน

ปฐมบทโลกภาพยนตร์ กำเนิดการถ่ายภาพ (Photograph) ค.ศ.1826

โจเซฟ นีเซฟอร์ เนียปส์ (Joseph Nicephore Niepce) นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ค้นพบวิธีการนำแผ่นดีบุก เคลือบน้ำมันดิน ใช้เป็นแผ่นรับภาพ เกิดเป็นภาพทิวทัศน์จากหน้าต่างที่เลอกราส์ View from the Windowat Le Gras ซึ่งเป็นภาพถ่ายถาวรชิ้นแรกของโลก ด้วยเทคนิคโฮลิโอกราฟฟี (Heliography)

ภาพม้าเคลื่อนไหว ค.ศ.1879

ภาพม้าเคลื่อนไหว

เอดวาร์ด เจมส์ ไมบริดจ์ (Edward James Muybridge) ช่างภาพชาวอเมริกัน ได้ศึกษาการถ่ายรูป และการฉายภาพเคลื่อนไหว และประสบความสำเร็จกับการถ่ายภาพม้าขณะวิ่ง ซึ่งพบว่ามีช่วงขณะที่ขาทั้งสี่ของม้า ลอยอยู่กลางอากาศ กลายเป็นชุดภาพนิ่ง ที่เมื่อนำมาเรียงต่อกัน และฉายผ่านตะเกียงมายากล

สิ่งประดิษฐ์นี้ถูกตั้งชื่อว่า Zoopraxiscope ได้เป็นภาพเคลื่อนไหวของม้า จนได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งภาพเคลื่อนไหว” (Father of the Motion Picture) หรืออีกฉายาคือ “ชายผู้หยุดเวลา” (จากหนังสือ The Man Who Stopped Time โดย Brian Clegg)

ผลงานของเขาจึงเป็นนวัตกรรมสำคัญแห่งยุค ที่ถือเป็น ปฐมบทของเรื่องราวที่จะพาเราก้าวสู่โลกมายาประดิษฐ์ และเป็นแรงบันดาลใจให้คนในยุคต่อมา คิดค้นประดิษฐกรรมด้านภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพ และเครื่องฉาย ค.ศ.1888

หลุยส์ แซม ออกุสแตง เลอแปรงซ์ (Louis Aime Augustin Le Prince) นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่เรียกว่า ตัวรับ (Receiver) หรือกล้องถ่ายภาพ และ ตัวส่ง (Sender) หรือเครื่องฉาย

แล้วได้ทดลองนำอุปกรณ์ดังกล่าว ไปถ่ายภาพคนในครอบครัวของเขาเอง ที่กำลังเดินอยู่ในสวนหน้าบ้าน เกิดเป็นภาพยนตร์จากฟิล์ม กระดาษม้วนเรื่องแรกของเขาเองในชื่อ Roundhay garden scene

ฟิล์ม (Film) ค.ศ.1888 หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของภาพยนตร์

ปฐมบทโลกภาพยนตร์

จอร์จ อีสต์แมน (George Eastman) พัฒนาม้วนฟิล์มแทนการใช้ฟิล์มกระจกแห้ง สำหรับถ่ายภาพ และได้เปิดตัวกล้องถ่ายภาพโกดัก (Kodak) ในราคา 25 เหรียญโดยใช้งานคู่กับ ม้วนฟิล์ม (Roll Film)

ชนิดเซลลูลอยด์เคลือบกับสารไวแสง ที่ถ่ายภาพได้ทั้งหมด 100 ภาพ ทำให้กล้องฟิล์ม 35 มิลลิเมตรกลายเป็นชุดมาตรฐานที่ทุกบ้านต้องมีไว้ในครอบครอง

ปฐมบทโลกภาพยนตร์ ภาพยนตร์ที่ออกฉายสู่ประชาชน ค.ศ.1890

วิลเลียม ฟรีส กรีน (Wiliam Edward Friese Greene) นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ได้นำภาพยนตร์ของเขาในชื่อ โครโนโฟโตกราฟิก (Chronophotographic) หรือ ภาพอนุกรม ออกฉายสู่สายตาประชาชน แต่ด้วยกลไกของกล้อง ยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่ไม่สมจริง จึงยังไม่ประสบความสำเร็จ

ประดิษฐกรรมภาพยนตร์ ที่สำคัญในโลกของภาพยนตร์ ค.ศ.1893

โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันผู้คิดค้น หลอดไฟ ได้จดสิทธิบัตร และเปิดตัวประดิษฐกรรมภาพยนตร์ทั้ง 2 ชิ้น ประกอบด้วย คิเนโตกราฟ (Kinetograph) กล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหว และ คิเนโตสโคป (Kinetoscope) ตู้ฉายภาพยนตร์แบบถ้ำมอง

โดยเอดิสันได้ร่วมประดิษฐ์กับ วิลเลียม เคนเนดี ดิกสัน (William Kennedy Laurie Dickson) นักประดิษฐ์ชาวสกอตจนสำเร็จ ซึ่งก่อนหน้านี้ เอดิสันเคยประสบความสำเร็จกับการประดิษฐ์ โฟโนกราฟ (Phonograph) เครื่องบันทึกและเล่นเสียง เมื่อปีค.ศ.1877 จนได้รับฉายา “พ่อมดแห่งเมนโลปาร์ค”

ต่อมาเอดิสันจึงได้ออกแบบ โรงถ่ายภาพยนตร์แห่งแรกของโลก แบล็คมารีอา (Black Maria) ซึ่งเป็นโครงสร้างทำจากไม้ กรุด้วยกระดาษน้ำมัน สีดำทั้งหลัง มีความพิเศษคือเป็นโรงถ่ายที่สามารถหมุนได้รอบตัว และเปิดปิดหลังคาได้ สำหรับหันรับแสงอาทิตย์ จากทิศทางต่างๆ เพื่อใช้ในการถ่ายภาพยนตร์

กล้องและเครื่องฉายภาพยนตร์แฟนโตสโคป (Phantoscope) ค.ศ.1894

ปฐมบทโลกภาพยนตร์

ชาร์ล ฟรานซิส เจนกินส์ (Charles Francis Jenkins) นักประดิษฐ์สัญชาติอเมริกัน ได้ประดิษฐ์แฟนโตสโคป โดยเขาได้บันทึกภาพผู้หญิงเต้นระบำในท่าผีเสื้อ และนำออกฉายครั้งแรกเมื่อ 6 มิถุนายน ค.ศ.1894 ที่เมืองริชมอนด์ รัฐอินเดียนา ก่อนที่ต่อมาจะพัฒนาเป็น วิตาสโคป (Vitascope)

การฉายภาพยนตร์ที่เก็บค่าดูครั้งแรกของโลก ค.ศ.1895

พี่น้องตระกูล สคาดาเนาสกี แมกซ์ และอีมิล (Max and Emil Skladanowsky) ชาวเยอรมัน ทำอาชีพผลิต กระจกภาพสำหรับโคมเชิดหนัง (Magic lantern) จำหน่าย และยังเป็นนักแสดงโคมเชิดหนังเองด้วย โดยเขาได้แรงบันดาลใจจาก คิเนโตสโคปของเอดิสัน ก่อนจะนำมาพัฒนาเป็น เครื่องฉายภาพยนตร์ไบโอสโคป (Bioscope)

สำหรับฟิล์มภาพยนตร์ 54 มม. และได้มีโอกาสนำไปจัดฉายภาพยนตร์สั้น 8 เรื่อง ที่โรงแรมเซ็นทรัลกลางกรุงเบอร์ลิน ถือเป็นการฉายภาพยนตร์ ที่เก็บค่าดูรายแรกของโลก

กล้องซิเนมาโตกราฟ (Cinematographe) ค.ศ. 1895

สองพี่น้องชาวฝรั่งเศส ออกุส และ หลุยส์ ลูมิแอร์ (Auguste-Louis Lumiere) ได้สร้างกล้องซิเนมาโตกราฟ ซึ่งเป็นทั้งกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหว และเครื่องฉายภาพยนตร์ได้สำเร็จ โดยมีหลักการทำงานที่ประยุกต์เอาคุณสมบัติของกล้องบันทึกภาพ คีเนโตกราฟ (Kinetograph) และ คีเนโตสโคป (Kinetoscope)

มาเป็นแนวทางพัฒนากล้องซีนีมาโตกราฟ ประสิทธิภาพของซีนีมาโตกราฟ ทำให้สองพี่น้องตัดสินใจเปิดจำหน่าย ตั๋วเข้าชมภาพยนตร์ที่พวกเขาถ่ายทำกันเองเป็นครั้งแรก ณ ห้องชาลองอินเดีย ใต้ถุนของร้านกาแฟ กรองด์คาเฟ (Grand Cafe) ในโรงแรมสคริป ที่กรุงปารีส

ฉายเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ.1895 โดยเก็บค่าเข้าชมคนละ 1 ฟรังซ์ กับการฉายผลงานภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า คนงานออกจากโรงงานลูมิแอร์ (La Sortie des ouvriers de I’ usine Lumiere)

จุดกำเนิดภาพยนตร์ในสยาม

จุดกำเนิดภาพยนตร์ในสยาม

ปฐมบทโลกภาพยนตร์ ความก้าวหน้าด้านศิลปวิทยาการ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ที่เกี่ยวข้องกับการฉายภาพ ซึ่งการสร้างหนังหรือภาพยนตร์ ก็ได้มาถึงดินแดนสยาม กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่จะนำสยามประเทศไปสู่การกำเนิดภาพยนตร์ในประเทศ

วันกำเนิดภาพยนตร์ในสยาม 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440

ปฐมบทโลกภาพยนตร์ ในประเทศสบามเริ่มจาก S.G. Marchovsky ชาวต่างชาติไม่ปรากฏสัญชาติ ได้นำสิ่งประดิษฐกรรมด้านภาพยนตร์ยุคแรกของโลกที่เรียกว่า “ซีนีมาโตกราฟ” มาฉายบนแผ่นดินสยาม ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ (บริเวณสวนรมณีนาถ แยกสามยอด ในปัจจุบัน)

ความนิยมในการชมภาพยนตร์เร่ของคนสยาม พ.ศ.2450-2459

ปฐมบทโลกภาพยนตร์ ทำให้เกิดโรงฉายภาพยนตร์แบบ Stand Alone มากมายในยุคต่อมา หรือเรียกว่า “ยุคโรงหนัง” ซึ่งเป็นการนำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้ามาฉายเป็นส่วนใหญ่

เริ่มการวางรากฐานอุตสาหกรรมภาพยนตร์ พ.ศ.2460-2469

ภายในประเทศไทย ที่มีความนิยมชมภาพยนตร์สูงขึ้น จึงเกิดการจัดตั้งศูนย์ผลิตภาพยนตร์ของกรมรถไฟหลวง และหน่วยอื่นๆ ที่ทำให้กิจกรรมการชมภาพยนตร์ เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ กลายเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

กองถ่าย Hollywood เข้ามาทำหนังในสยามมากมาย พ.ศ.2465

ปฐมบทโลกภาพยนตร์

เรื่องที่โดดเด่นที่สุดคือ “นางสาวสุวรรณ” เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่าง กองถ่ายฮอลลีวูด และกองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าวของกรมรถไฟหลวงและกรมมหรสพหลวง ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ใช้สถานที่ในสยาม และคนไทยถ่ายทำตลอดเรื่อง ถือเป็นหนังเรื่องแรกที่มีนักแสดงคนไทย

กิจการสร้างหนังไทยได้ถือกำเนิดขึ้น พ.ศ.2470-2479

กลุ่มแรกที่ประกาศตัวเป็นผู้สร้างหนัง คือคณะหนังสือพิมพ์ศรีกรุง โดยได้สร้างหนังไทยเรื่องแรกชื่อว่า “โชคสองชั้น” ซึ่งเป็นหนังเงียบ

กำเนิดการพากย์เสียงภาษาไทยเป็นครั้งแรก พ.ศ.2473

โรงหนังในกรุงเทพ เริ่มฉายหนังพูดจากฮอลลีวูด ทำให้เกิดการพากย์เสียงภาษาไทยขึ้น หนังพูดไทยเรื่องแรกของคณะศรีกรุงคือเรื่อง “หลงทาง” ในปลายยุคนี้เริ่มเกิดเป็นหนังไทยพูด กับหนังไทยพากย์เพิ่มขึ้น และได้รับความนิยมอย่างมาก เกิดบริษัทสหศีนิมา ที่มีบทบาทในธุรกิจนี้ และสร้างโรงหนังศาลาเฉลิมกรุงขึ้น

หนังไทยได้รับ 3 รางวัลที่กรุงโตเกียว พ.ศ.2496

“สันติวีณา” หนังไทยเรื่องแรกที่ใช้ฟิล์มสี 35 มม. สร้างโดย บริษัทหนุมานภาพยนตร์ ได้รับ 3 รางวัลใน มหกรรมภาพยนตร์แห่งอาคเนย์ ที่กรุงโตเกียว คือด้านการถ่ายภาพ กำกับศิลป์ และการเผยแพร่วัฒนธรรมประจำชาติ

ก่อตั้งสมาคม ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย พ.ศ.2510-2519

เพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองกับรัฐบาล ในการเรียกร้องให้ส่งเสริมด้านการลงทุน แก่ผู้สร้างหนังไทย ส่งผลให้การสร้างหนังระบบมาตรฐานกลับมาคึกคัก โดยในปี พ.ศ.2514 หนังเรื่อง “มนต์รักลูกทุ่ง” และ “โทน” เป็นหนังดังแห่งยุค

ยุคเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในไทย พ.ศ.2520-2529

ปฐมบทโลกภาพยนตร์

เนื่องจากการแข่งขันกับหนังต่างประเทศ ประกอบกับการเฟื่องฟูของกิจการโทรทัศน์ ทำให้ความนิยมในการชมภาพยนตร์ในโรงหนังเริ่มมีน้อยลง จากพฤติกรรมของคนดูเปลี่ยนไป และยังส่งผลต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ที่ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมีผลต่อการชมภาพยนตร์อย่างมาก

สรุป ประวัติศาสตร์แห่ง ปฐมบทโลกภาพยนตร์

ปฐมบทโลกภาพยนตร์ เป็นความมหัศจรรย์ของภาพยนตร์ ที่มีประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นอย่างยาวนาน นี่คือสิ่งที่ถ่ายทอดเรื่องราว และแรงบันดาลใจ อยู่บนแผ่นฟิล์ม ที่จะรอคอยให้ผู้ชมสัมผัสเรื่องราวอันมีมนต์ขลัง แห่งโลกภาพยนตร์ต่อไป

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง