ดวงดาวแห่งระบบสุริยะ เป็นระบบที่ประกอบด้วยดาวหลายดวง มีดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ที่อยู่จุดศูนย์กลาง และมีดาวอื่นๆโคจรวนรอบ พาตะลอน จะพาไปแนะนำ ระบบสุริยะ ที่พวกเราได้อาศัยอยู่กัน
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว ของระบบสุริยะที่เราอาศัยอยู่ อยู่บริเวณศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีมวลมากกว่าร้อยละ 99 ของมวลดาวดวงอื่นในระบบ เป็นแหล่งพลังงานให้ความร้อน และแสงกับดาวดวงอื่นในระบบ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน
อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในระบบสุริยะ มีชั้นบรรยากาศที่เบาบางมาก เกือบเป็นสุญญากาศ ป้องกันแสงดวงอาทิตย์ได้น้อย พื้นผิวมีอุณหภูมิ 430 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน และกลางคืนเย็นได้ถึง -180 องศาเซลเซียส
ดาวแฝดของโลก มีขนาดใกล้กับโลก และระยะทางใกล้กัน เส้นผ่านศูนย์กลางราว 12,104 กิโลเมตร มีความสว่างรองจากดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ มีชั้นบรรยากาศหนาแน่น แต่เต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซต์ ผิวอุณหภูมิ 464 องศาเซลเซียสถือว่าร้อนที่สุดในระบบสุริยะ
ดาวดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตในระบบสุริยะนี้ มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ที่พอเหมาะ ประกอบด้วยน้ำถึง 3 ส่วน 4 ของพื้นผิวทั้งหมด
บริวารดวงเดียวของโลก ใช้เวลาโคจรจนครบรอบโลก ประมาณ 28 วัน พื้นผิวขรุขระ มีหลุมอุกกาบาตมากมาย และไม่มีชั้นบรรยากาศ
เป็นดาวเคราะห์สะท้อนแสงสีแดงชัดเจนเมื่อมองจากโลก เนื่องจากสนิมเหล็กที่ปกคลุมอยู่ทั่วทั้งผิวดาว ชั้นบรรยากาศเบาบาง มีร่องรอยเส้นทางน้ำ ที่ทำให้มนุษย์กำลังพยายามสำรวจอยู่ และศึกษาสภาพแวดล้อมเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิต
ดาวที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่หมุนรอบตัวเองด้วยเวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมง จนทำให้เกิดความแปรปรวนในชั้นบรรยากาศสูงมาก จนเห็นเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ที่ชัดเจน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโลก 1.3 เท่า
เป็นดาวเคราะห์ก๊าซเหมือนดาวพฤหัส และมีวงแหวนขนาดใหญ่สวยงามที่สุดในระบบสุริยะ มีความหนาแน่นน้อยที่สุดเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าน้ำ ลักษณะองค์ประกอบของวงแหวน ส่วนใหญ่มีแต่ฝุ่น และสสารอื่นๆ เช่น ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ เป็นต้น
ดาวดวงแรกที่ถูกค้นพบในยุคสมัยใหม่ โดยวิลเลียม เฮอร์เซล ปี พ.ศ. 2324 ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า มีแกนหมุนที่อยู่ในแนวขนาบไปกับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์
ถูกสังเกตเห็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2389 โดยโยฮัน แกลล์ และไฮน์ริช อาเรส์ ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับผลคำนวณของจอห์น คูซ อดัม และอูร์แบง เลอร์แวรีเย ซึ่งเป็นการคำนวณที่อิงกับการสังเกตตำแหน่งของดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และดาวยูเรนัส
ดวงดาวแห่งระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และดาวบริวารอีกรวมทั้งสิ้น 8 ดวง ซึ่งในจักรวาลนี้ ก็มีระบบสุริยะอื่นๆอีกมากมาย ที่นักดาราศาสตร์กำลังเฝ้ามอง และรอการค้นพบดาวดวงใหม่ที่น่าสนใจในอนาคต
อัปเดตข่าวสารฉับไวทุกวัน ทุกเรื่องบนโลกใบนี้ ทุกข่าวสารใหม่ เนื้อหาเน้นๆ รู้ทันก่อนใคร ติดตามได้ที่พาตะลอน