แผ่นดินไทยกับประวัติศาสตร์ ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ที่มีมาช้านาน ตั้งแต่สมัยยุคอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรอยุธยา จนมาถึงในปัจจุบัน บทความนี้ พาตะลอน จะนำเสนอเรื่องราว เอกลักษณ์ของ ประวัติศาสตร์ไทย ที่น่าสนใจ
เรือนไทยถือเป็น ประวัติศาสตร์ด้านการก่อสร้าง บนผืนแผ่นดินไทย ที่ย้อนเรื่องราวกลับไปถึงยุคต้นกำเนิดประเทศไทย โครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างเรือนไทย มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีความโดดเด่นอย่างมาก
เรือนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสถาปัตยกรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม และชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของคนในพื้นถิ่นนี้ ตัวเรือนเรียกตามภาษาถิ่นว่า “เรือนเกย” ผังพื้นบ้านเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และใต้ถุนสูง โครงสร้างประกอบด้วยเสาไม้เนื้อแข็งกลม หรือเหลี่ยม หลังคาลาดชันเพื่อช่วยในการระบายอากาศ
เรือนไทยของภาคกลาง มีการปลูกสร้างสืบต่อกันมาเป็นแบบประเพณี เรียกว่า “เรือนไทย” ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป ตามประโยชน์ใช้สอย เป็นเรือนที่มีระบบการก่อสร้างที่ซับซ้อน กว่าเรือนในภาคอื่นๆ ของไทย
ลักษณะโครงสร้างเป็นชิ้นสำเร็จ สามารถประกอบ และรื้อถอนได้ การรับน้ำหนักของเรือน เป็นระบบเสา และคานประกอบเข้าด้วยกัน โดยการสับไม้เข้าเดือย เสาเรือนจะล้มสอบเอียงเข้าหาจุดศูนย์ทั้งสี่ด้าน เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับโครงสร้าง และสามารถต้านทานกระแสลม และน้ำ
เรือนไทยของภาคใต้ มีเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง เนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่มีพายุจัด และฝนตกชุกเกือบตลอดปี นั้นคือ ตัวเรือนไม่สูง เสาเรือนทุกต้นจะอยู่บนฐานรอง ที่เรียกว่า “ตีนเสา” ซึ่งใช้ไม้ท่อนเนื้อแข็ง ก่อนหินหรือซีเมนต์ รองรับไว้ทำให้ตัวเรือนสามารถใช้คนจำนวนมากถอด เพื่อเคลื่อนย้ายได้
เหตุที่ไม่ฝังเสาลงในดิน เพราะเมื่อฝนตกชุก สภาพดินจะมีความยืดหยุ่น โอกาสที่เสาจะทรุดตัวจึงมีมาก ลักษณะหลังคาเตี้ย และลาดชัน เพื่อให้ลมพัดผ่านหางกระเบื้องได้ง่าย และทำให้น้ำฝนไหลลงได้อย่างรวดเร็ว ฝาเรือนเป็นกระดานเกล็ด เพื่อไม่ให้ต้านลมมากเกินไป
เรือนไทยของภาคเหนือ มีลักษณะพิเศษที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า “เรือนกาแล” โครงสร้างของตัวเรือน จะเป็นเรือนแฝดสองหลัง ร่วมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ทั้งหลังจะตั้งอยู่บนเสาเรือนยกใต้ถุนสูง และมีนอกชานเปิดโล่งยาว ตลอดด้านหน้าเรือน
ด้านจั่วถือเป็นด้านสำคัญ จะหันไปรับลมประจำทิศใต้ ไม้ปั้นลมไขว้กันอยู่บนยอดจั่ว เรียกว่า “กาแล” ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกชื่อเรือน ฝาเรือน จะต่างจากลักษณะเรือนไทยภาคอื่นๆ คือตอนล่างเอนเข้าข้างใน ส่วนตอนบน จะเอนออกข้างนอก ซึ่งเป็นเทคนิคช่างท้องถิ่น ในการประกอบตัวเรือนให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
แผ่นดินไทยกับประวัติศาสตร์ ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ที่รอให้เราได้เข้าไปรู้จัก และเรียนรู้ ในบทความถัดไป จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย ที่น่าสนใจอะไรบ้าง สามารถติดตามรับชมได้ที่ พาตะลอน ตระเวนล่าความรู้ ประวัติศาสตร์
อัปเดตข่าวสารฉับไวทุกวัน ทุกเรื่องบนโลกใบนี้ ทุกข่าวสารใหม่ เนื้อหาเน้นๆ รู้ทันก่อนใคร ติดตามได้ที่พาตะลอน