เปรียบเทียบ การส่งสารในอดีต มีกี่รูปแบบ แบบไหนดีที่สุด

เปรียบเทียบ การส่งสารในอดีต

เปรียบเทียบ การส่งสารในอดีต ในสมัยก่อน มนุษย์เรามีวิธีการส่งสารอย่างไรบ้าง และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการส่งสารรูปแบบต่างๆ พาตะลอน พาย้อนรอย ไปดูการส่งสารในยุคที่มนุษย์เรายังไม่มีเครื่องมือสื่อสาร เหมือนดั่งเช่นปัจจุบัน

วิธีการส่งสารในอดีต

การส่งสารในอดีต มีหลากหลายวิธีด้วยกัน ที่ได้รับการยอมรับ และมีประสิทธิภาพ โดยวิธีที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย ตามประวัติศาสตร์ มีดังนี้

พิราบสื่อสาร (Carrier Pigeons)

เป็นการนำเอาข้อความ ไปผูกติดกับนก โดยนกจะได้รับการฝึกให้บินไปยังจุดหมาย และกลับมายังฐานที่มั่นเดิมเสมอ

  • รูปแบบของสาร : บันทึกข้อความ
  • ตัวอย่างการใช้งาน : กรุงแบกแดด ประมาณ พ.ศ.1743
  • ระยะทาง : 800 กม./วัน (นกที่ผ่านการฝึกสามารถบินได้เฉลี่ย 80 กม./ชั่วโมง บินเป็นเวลา 10 ชั่วโมงต่อวัน ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน)
  • ข้อจำกัด : ส่งข้อความได้จำกัด ต้องเป็นนกที่ได้รับการฝึกฝน และบินได้เฉพาะตอนกลางวันเท่านั้น

ม้าเร็ว (Mounted Scout / Dispatch Rider)

เป็นการสร้างระบบคล้ายๆไปรษณีย์ ใช้คนขี่ม้า วิ่งส่งสารที่เกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐ ไปตามถนนหลวงยาวประมาณ 3,200 กิโลเมตร มีจุดพักสำหรับพักผ่อน และเปลี่ยนม้าตลอดเส้นทาง

  • รูปแบบของสาร : บันทึกข้อความ
  • ตัวอย่างการใช้งาน : อาณาจักรเปอร์เซีย เมื่อ 2,600 ปีที่แล้ว
  • ระยะทาง : 321 กม./วัน
  • ข้อจำกัด : ต้องมีจุดพัก และจุดเปลี่ยนม้าตลอดเส้นทาง

การวิ่งส่งสาร (Foot Messenger)

ใช้คนวิ่งส่งสาร มีตำนานกล่าวว่าที่กรีก เมื่อประมาณ 2,490 ปีที่แล้ว ผู้ส่งสารชื่อ ฟิดิปปีดิส (Pheidippides) วิ่งเป็นเวลา 2 วัน โดยไม่หยุดพักจากกรุงเอเธนส์ ไปยังสปาต้า เพื่อขอความช่วยเหลือในสงคราม และเสียชีวิตลงเมื่อเสร็จภารกิจ

  • รูปแบบของสาร : บันทึกข้อความ / คำพูด
  • ตัวอย่างการใช้งาน : กรีก เมื่อประมาณ 2,490 ปีที่แล้ว
  • ระยะทาง : 120 กม./วัน
  • ข้อจำกัด : ศักยภาพของผู้ส่งสาร

สุนัขลากเลื่อนส่งสาร (Dog-Sleigh Communication)

ใช้สุนัขที่ได้รับการฝึกให้ลากเลื่อน ที่บรรทุกจดหมาย และไปรษณีย์ภัณฑ์ ผ่านเส้นทางที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ

  • รูปแบบของสาร : บันทึกข้อความ
  • ตัวอย่างการใช้งาน : รัฐอลาสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2439
  • ระยะทาง : 64 กม./วัน
  • ข้อจำกัด : ไม่สามารถวิ่งในสภาพอากาศที่เลวร้าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม – พฤษภาคม

อูฐส่งสาร (Camels)

ใช้อูฐเป็นพาหนะในการเดินทางเพื่อส่งสาร

  • รูปแบบของสาร : บันทึกข้อความ
  • ตัวอย่างการใช้งาน : เมืองออดนาดัตต้า (Oodnadatta) ซึ่งเป็นพื้นที่ทะเลทราย ทางใต้ของออสเตรเลีย
  • ระยะทาง : 19 กม./วัน
  • ข้อจำกัด : ไม่สามารถวิ่งในสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่นระหว่างเกิดพายุทราย และเดินทางได้ช้า

สรุป เปรียบเทียบ การส่งสารในอดีต

เปรียบเทียบ การส่งสารในอดีต

เปรียบเทียบการส่งสารในอดีต ได้ผลสรุปดังนี้

  1. พิราบสี่อสาร ระยะทาง 800 กม./วัน
  2. ม้าเร็ว ระยะทาง 321 กม./วัน
  3. การวิ่งส่งสาร ระยะทาง 120 กม./วัน
  4. สุนัขลากเลื่อนส่งสาร ระยะทาง 64 กม./วัน
  5. อูฐส่งสาร ระยะทาง 19 กม./วัน

พิราบสื่อสาร สามารถส่งสารได้ไกลที่สุด แต่มีข้อเสียตรงที่ส่งได้เพียงข้อความเล็กๆเท่านั้น รองลงมาคือม้า ที่เป็นการส่งสารยอดฮิตที่สุด สามารถส่งได้ทั้งข้อความ สิ่งของที่บรรทุกไปได้ ถัดมาคือการใช้คนวิ่งส่งสาร และใช้สัตว์อย่างสุนัข อูฐ ที่มีข้อจำกัด กับระยะทางที่สั้นกว่าชนิดอื่นมาก

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง