7 ประวัติการค้นพบสสาร ที่มีส่วนพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์

ประวัติการค้นพบสสาร

ประวัติการค้นพบสสาร เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ในอดีตที่ผ่านมา ที่มีการค้นพบสสารชนิดใหม่ขึ้นบนโลก ไม่ว่าจะเกิดมาจากความตั้งใจ หรือการค้นพบในบังเอิญ วิทยาศาสตร์รอบโลก ยังมีเรื่องราวการค้นพบใหม่ๆ ให้ติดตาม มารับชมไปพร้อมกันกับ พาตะลอน

ลำดับเหตุการณ์ 7 ประวัติการค้นพบสสาร หรือธาตุใหม่

ประวัติการค้นพบสสาร ที่ถูกค้นพบ เกิดจากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เวลายาวนานหลาย 10 หลายร้อยปี บางครั้งผู้ริเริ่ม อาจจะไม่ได้เป็นผู้ค้นพบ แต่ถูกต่อยอดมาหลายชั่วอายุคน กว่านักวิทยาศาสตร์ จะค้นพบอะไรสักอย่างหนึ่ง

1. แอโรเจล (Aerogel) ของแข็งที่เบาที่สุดในโลก พ.ศ. 2474

ประวัติการค้นพบสสาร

สสารชนิดใหม่ “แอโรเจล” ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆ สสารชนิดนี้ มีความแข็งแรงมาก แต่กลับมีน้ำหนักเบา ประกอบด้วยอากาศถึงร้อยละ 99.8 เป็นฉนวนความร้อนที่ดี จึงนำมาผลิตเป็นฉนวนกันความร้อนหลังคา หน้าต่าง และฟิล์มกันแดดรถยนต์

นักวิทยาศาสตร์ยังใช้เจ้าวัสดุนี้ ในการดักจับฝุ่นในอวกาศ เพื่อนำฝุ่นจากดาวหาง เพื่อมาศึกษา วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาด้านสสารนอกโลก และต่อยอด ไปถึงเรื่องราวการเกิดระบบสุริยะด้วย

2. ลิเวอร์มอเรียม (Lv : Livermorium) พ.ศ. 2543

ธาตุลำดับที่ 116 ถูกสังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกจากการระดมยิงธาตุ คูเรียม-248 (Curium-248) ด้วยไอออนแคลเซียม-48 (Calcium-48) ในเครื่องเร่งอนุภาค เพื่อผลิตอะตอมออกาเนสซอน Qganesson (ธาตุที่มีเลขอะตอม 118) แต่ธาตุออกาเนสซอนไม่เสถียร และสลายตัวภายในไม่ถึง 1 มิลลิวินาที

เกิดเป็นธาตุลิเวอร์มอเรียม-296 ขึ้น ธาตุนี้มีลักษณะเป็นของแข็งสีเงินวาว มีกัมมันตภาพรังสีสูง และเป็นธาตุหนักยิ่งยวด ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโลหะหลังทรานซิชัน และตั้งชื่อว่า ลิเวอร์มอเรียม ตามชื่อศูนย์วิจัยแห่งชาติลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

3. เทนเนสซีน (Ts : Tennessine) พ.ศ. 2553

ธาตุลำดับที่ 117 สังเคราะห์ได้สำเร็จโดยนักวิจัยทีมรัสเซีย-อเมริกา อะตอมของธาตุเทนเนสซีน-294 สร้างขึ้นจากการระดมยิงธาตุเบอร์คีเลียม-249 (Berkelium-249) ด้วยแคลเซียม-48 (Calcium-48) เทนเนสซีนถูกจัดอยู่ในกลุ่มของธาตุฮาโลเจน และเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง

4. มอสโกเวียม (Mc : Moscovium) พ.ศ. 2559

ประวัติการค้นพบสสาร

ธาตุลำดับที่ 115 ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ จากห้องปฏิบัติการสถาบันร่วม เพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ ธาตุนี้ได้ชื่อมาจากชื่อเมืองมอสโก ประเทศรัสเซีย การผลิตธาตุอะตอมแรกผลิตโดยการยิงธาตุอะเมริเซียม-243 ด้วยไอออนของธาตุแคลเซียม-48 เพื่อสร้างเป็นธาตุมอสโกเวียมขึ้น

โดยธาตุนี้ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาได้เพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น และคาดว่ามีคุณสมบัติเป็นธาตุกัมมันตรังสีสูง มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง

5. นิโฮเนียม (Nh : Nihonium) พ.ศ. 2559

ธาตุลำดับที่ 113 เป็นธาตุสังเคราะห์ ที่เกิดขึ้นจากการสลายตัวอย่างรวดเร็ว ของธาตุมอสโกเวียม เกิดเป็นธาตุนิโฮเนียม ที่สามารถคงอยู่ได้นาน 1 วินาที ถูกสังเคราะห์ขึ้นที่ห้องปฏิบัติการ สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ริเก็น ประเทศญี่ปุ่น

ชื่อนิโฮเนียม มาจาก “นิฮง” (Nihon) ซึ่งเป็นชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่น และนับเป็นธาตุแรกที่ค้นพบในเอเชีย ด้วยความไม่เสถียรของธาตุนี้ ทำให้ถูกสังเคราะห์ขึ้นได้เพียง 1 วินาทีเท่านั้น ก่อนสลายไปเป็นธาตุอื่น คุณสมบัติของธาตุนี้เป็นโลหะกัมมันตภาพรังสีสูง

6. หลอดไฟที่บางที่สุดในโลก (The World’s Thinnest Light Bulb)

ประวัติการค้นพบสสาร

นักวิทยาศาสตร์จาก สถาบันวิจัยมักซ์พลังค์ สำหรับพอลิเมอร์ (Max Planck Institute for Polymer Research) ที่เยอรมนี ค้นพบวิธีสร้างทรานซิสเตอร์กราฟีน ที่เปล่งแสงได้ ทำให้ได้หลอดไฟ บนแผ่นกราฟีนที่มีขนาดเล็กมาก

ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการพัฒนานวัตกรรมระบบสื่อสาร รวมถึงประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่นการพัฒนาอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ สำหรับปฏิกิริยา ที่ต้องควบคุมเงื่อนไข ภายใต้อุณหภูมิสูง

7. โลหะที่ทนทานที่สุดในโลก (The most durable metal in the world)

ประวัติการค้นพบสสาร

นักวิจัยจากศูนย์ทดลองแห่งชาติซานเดีย (Sandia National Laboratories) ได้พัฒนาโลหะผสมแพลตินัม-ทอง (Platinum-gold alloy) ที่ถือเป็นโลหะที่ทนทานต่อการสึกกร่อน มากที่สุดในโลก โดยมีความแข็งแรงทนทาน มากกว่าเหล็กกล้าถึง 100 เท่า

โลหะผสมชนิดนี้สามารถสังเคราะห์คาร์บอน ที่มีโครงสร้างคล้ายเพชรขึ้นไปบนพื้นผิวได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในการเคลือบผิว ที่แข็งแรงที่สุดในโลก วัสดุนี้นำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับระบบเครื่องบิน กังหันลม โทรศัพท์มือถือ และเรดาร์

สรุป ประวัติการค้นพบสสาร

ประวัติการค้นพบสสาร เป็นการค้นพบสสารชนิดใหม่ๆบนโลก ที่มีความยากลำบาก ในการสังเคราะห์ หรือสร้างขึ้นมา ด้วยความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดการค้นพบสสารชนิดใหม่ ที่มีส่วนเปลี่ยนแปลง วัสดุ ในวงการของวิทยาศาสตร์ ให้พัฒนาไปข้างหน้า

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน
Picture of Knowledge Hunter
Knowledge Hunter

แหล่งอ้างอิง