ต้นกำเนิดดาวเทียมสื่อสาร เป็นจุดเริ่มต้น การสื่อสารข้ามโลก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ประวัติการสื่อสารของมนุษย์ กับความพยายามพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร พาตะลอน จะพาไปดูเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ดาวเทียม พร้อมย้อนรอยไปยังจุดเริ่มต้น
ต้นกำเนิดดาวเทียมสื่อสาร สำหรับการสื่อสาร หรือการคมนาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อรับ และส่งสัญญาณคลื่นวิทยุในความถี่ไมโครเวฟ ระยะทางไกล โดยตัวดาวเทียมจะเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณในพื้นที่หนึ่ง สู่อีกที่หนึ่ง
นั้นคือข้อมูลของดาวเทียมที่เราทราบ และใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่ก่อนที่จะมีดาวเทียมให้เราใช้งาน ต้นกำเนิดดาวเทียมสื่อสาร มีต้นกำเนิดขึ้นมาจากจินตนาการของมนุษย์ ที่พยายามจะส่งวัตถุไปบนท้องฟ้า เรื่องราวจุดกำเนิด ก่อนที่จะถูกพัฒนามาเป็นดาวเทียมในปัจจุบัน มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน
ต้นกำเนิดดาวเทียมสื่อสาร ได้มีการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นครั้งแรก โดยเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวล (James Clerk Maxwell) เป็นจุดเริ่มต้นในการนำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปสู่การประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีด้านต่างๆ
แรงบันดาลใจจากนิยาย The Brick Moon ที่เล่าถึงการส่งวัตถุ ขึ้นสู่วงโคจรของโลก โดยนักประพันธ์ เอดเวิร์ด เอเวอร์เร็ต เฮล (Edward Everett Hale)
คอนสตันติน ชิออลคอฟสกี (Konstantin Tsiolkovsky) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย กระตุ้นให้เกิดการค้นคว้า และพัฒนาวิธีการส่งวัตถุขึ้นสู่ท้องฟ้า โดยการนำเสนอแนวคิดการใช้จรวดหลายท่อน ที่ขับเคลื่อนโดยเชื้อเพลิงเหลว
แนวคิด ต้นกำเนิดดาวเทียมสื่อสาร มาจาก อาเธอร์ ซีคลาร์ก (Arthur C. Clarke) นักเขียนนิยาย และสารคดีวิทยาศาสตร์ ริเริ่มแนวคิดการสื่อสารดาวเทียม ผ่านบทความในนิตยสาร Wireless World เรื่อง Extra-Terrestrial Relays
โรเบิร์ต ฮัทชิงส์ ก็อดเคิร์ค (Robert Hutchings Goddard) ทดลองออกแบบจรวดที่ขับเคลื่อนโดยเชื้อเพลิงเหลว จนสามารถส่งจรวดทดสอบขึ้นสู่ท้องฟ้าได้
สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียม สปุตนิก 1 (Sputnik 1) ดาวเทียมดวงแรกของโลก ด้วยจรวด Sputnik-PS ขึ้นสู่วงโคจร เพื่อตรวจสอบการแผ่รังสีในชั้นบรรยากาศ ไอโอโนสเฟีย และกระจายสัญญาณเสียง ผ่านคลื่นวิทยุ กลับมาสู่โลกได้เป็นครั้งแรก นับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคอวกาศ
ต่อมาทางสหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียม สปุตนิก 2 (Sputnik 2) ขึ้นสู่วงโคจรเพื่อทดสอบการนำสิ่งมีชีวิตขึ้นไปบนอวกาศ โดยบรรทุกสุนัขเพศเมียอายุ 3 ปี ชื่อไลก้า (Laika) โดยสปุตนิก 2 โคจรรอบโลก 5 เดือน ก่อนที่จะตกกลับสู่ผิวโลกในบริเวณทะเลแคริบเบียน ความร้อนภายในห้องโดยสารทำให้ไลก้าเสียชีวิต ขณะที่จรวดขึ้นสู่วงโคจร
สหรัฐอเมริกาส่งสกอร์ (Score) ดาวเทียมสื่อสารดวงแรก ขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดแอตลาส-บี (Atlas-B) เพื่อถ่ายทอดบันทึกเสียง ของประธานาธิบดี ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ผ่านสัญญาณวิทยุ และระบบวิทยุกระจายเสียงได้เป็นครั้งแรก
ด้วยจรวดธอร์-เดลต้า (Thor-Delta) ขึ้นโคจรรอบโลก เพื่อสะท้อนคลื่นวิทยุกลับสู่โลก และสามารถทดลองถ่ายทอดสัญญาณโทรศัพท์ และโทรทัศน์ได้สำเร็จ
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration : NASA) ส่งดาวเทียมซินคอม เพื่อถ่ายทอดข่าวสารจากทวีปอเมริกาเหนือ ไปยังทวีปอเมริกาใต้
โดยประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) จำนวน 11 ประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ประเทศสมาชิกสามารถเข้าถือหุ้นดำเนินการกิจการดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร และตั้งคณะกรรมการเพื่อกำกับนโยบายต่างๆ
สหรัฐอเมริกายังส่งดาวเทียมซินคอม 2 (Syncom II) ด้วยจรวดเดลต้า บี (Delta B) เพื่อถ่ายทอดพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 18 จากกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ผ่านดาวเทียมไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก
Comsat Corporation ส่งอินเทลแซท 1 (Intelsat 1) หรือ เออร์ลีเบิร์ต (Early Bird) ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเชิงพาณิชย์ดวงแรกของโลก ขึ้นเหนือมหาสมุทรแอตแลนติค ทำหน้าที่รับ-ส่ง สัญญาณโทรทัศน์ข้ามทวีป
ด้วยจรวดลองมาร์ช-1 (Long March 1) เพื่อกระจายเสียงเพลง Dong Fang Hong (ทิศตะวันออกเป็นสีแดง) เป็นเกียรติแก่เหมาเจ๋อตง โดยออกแบบให้ทำงานได้ 20 วัน ก่อนตกกลับสู่โลก
ปล่อยด้วยจรวด Black Arrow เพื่อทดสอบเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการสื่อสาร เช่น ระบบโทรมาตร ระบบไฟฟ้า ระบบโซลาร์เซลล์ เป็นต้น
เป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของประเทศอินโดนีเซีย โดยบรรทุกไปกับกระสวยอวกาศที่ชื่อ Challenger
ประวัติศาสตร์อวกาศไทย ได้เริ่มปล่อยดาวเทียมดวงแรกในชื่อ ไทยคม ซึ่งไทยคมนี้ เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีการสื่อสารของประเทศไทย
บริษัทเอกชนด้านอวกาศในประเทศสหรัฐอเมริกา วางแผนให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วโลก ผ่านกลุ่มดาวเทียมสื่อสารสตาร์ลิงก์ (Starlink)
หน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชน สามารถผลิตและส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร พร้อมเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปได้ โดยอาศัยอำนาจทางกฎหมายอวกาศ
สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) บริษัทเอกชนด้านอวกาศในอเมริกา ส่งดาวเทียมสื่อสาร สตาร์ลิงก์ Starlink เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม
ดาวเทียมสื่อสารของอินโดนีเซีย Satria-1 ส่งด้วยจรวด ฟอลคอน-9 (Falcon-90) เป็นดาวเทียมของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่อัตราเร็ว 150 Gbps เพื่อกิจการภาครัฐ และภาคพลเรือน ครอบคลุมพื้นที่หมู่เกาะของอินโดนีเซีย
ต้นกำเนิดดาวเทียมสื่อสาร จากความต้องการติดต่อสื่อสาร ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นดาวเทียมสื่อสาร ที่สามารถส่งสัญญาณทางไกลได้ ดั่งเช่นในปัจจุบัน เรื่องราวของ เทคโนโลยีการสื่อสาร ที่มีเรื่องราวยาวนานนี้ ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่ยังคงถูกพัฒนาต่อไปในอนาคต ในโลกแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างไม่รู้จบ
อัปเดตข่าวสารฉับไวทุกวัน ทุกเรื่องบนโลกใบนี้ ทุกข่าวสารใหม่ เนื้อหาเน้นๆ รู้ทันก่อนใคร ติดตามได้ที่พาตะลอน